เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1892 ที่เมือง
Osaka ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาว American แต่เนื่องจากบิดาเป็นMissionary
ที่นั่น Gulick จึงอาศัยอยู่ที่ Osaka
ต่อมานักวิชาการด้านรัฐประสาสนศาสตร์มีความเห็นร่วมกันว่า
ทฤษฎีแนวความคิดหลักการบริหารได้เจริญถึงจุดสุดยอดในปี ค.ศ. 1937 อันเป็นปีที่ Gulick และ Urwick ได้ร่วมกันเป็นบรรณาธิการหนังสือชื่อ Papers on the Science of
Administration : Notes of the Theory of Organization โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ชื่อว่า ‘ POSDCoRB” อันเป็นคำย่อของภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร
7 ประการ
ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB
กูลิค
และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชื่อ ( Paper on the Science of Administration ) โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า “POSDCoRB” ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร
7 ประการ คือ
เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. Organizing การจัดองค์การ
เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์การ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น
การแบ่งงาน (Division of Work) เป็นกรม กอง หรือแผนก
โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน (Specialization)
3. Staffing การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน
เป็น เรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง
ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการจัด
แบ่งหน่วยงานที่กำหนดไว้
4. Directing การอำนวยการ
เป็นภาระกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership)
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ
(Motivation) และการตัดสินใจใจ (Decision
making) เป็นต้น
5. Coordinating การประสานงาน
เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ
ของกระบวนการทำงานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และราบรื่น
6. Reporting การรายงาน
เป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน
โดยที่มีีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication) ในองค์การอยู่ด้วย
7. Budgeting การงบประมาณ
เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง
POSDCoRB ใช้เป็นเครื่องมือบริหารงานครบวงจรของฝ่ายบริหารระดับสูง
เพื่อบริหารองค์กรอย่างมีระบบ โดยเริ่มจาก การวางแผน ตั้งเค้าโครงเป้าหมายที่จะทำ, จัดโครงสร้างองค์กร, จัดคนเข้าตามโครงสร้าง, อำนวยการ สั่งการ ตามลำดับชั้น ให้งานเดินไปสู่เป้าหมาย
ข้อดีข้อเสียของ POSDCoRB
ข้อดี
·
องค์กรมีโอการประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมาย มีสายบังคับบัญชาเดียว
·
สมาชิกองค์กรมีความเข้าใจวัตถุประสงค์องค์กร และ แบ่งสายงานชัดเจน
ไม่สับสน
·
ในหน่วยงานเดียวกัน มีความเข้มแข็ง
เพราะเลือกสายอาชีพเดียวกันมาร่วมกันทำงาน
·
ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ถูกที่ถูกงาน
·
การประสานงานระหว่างหน่วยงานมีความสะดวก
·
จัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนแต่ละส่วนได้อย่างเหมาะสม
ข้อเสีย
·
เมื่อมีสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน
บางหน่วยงานอาจเลี่ยงปฎิบัติงานจนกว่าผู้บริการจะสั่งการลงมาโดยตรง
·
อุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดที่อยู่นอกเหนือหน่วยงานตนเอง
อาจต้องรอจนกว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบมาเป็นเมื่อการดำเนินงานให้
·
ทุกคนล้วนอยากอยู่ในหน่วยงานบริหารหลัก ทำงานใกล้ชิดผู้บริหาร
อาจเกิดความขัดแย้ง
การนำไปใช้ประโยชน์
1.
หลักสกาลาร์ หรือสายการบังคับบัญชา
2.
หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
3.
หลักช่วงการบังคับบัญชา
4.
หลักการเน้นที่จุดสำคัญ
5.
หลักการจัดแบ่งแผนกงาน
6.
หลักการเกี่ยวกับหน่วยงานหลักและหน่วยอำนวยการ
7.
หลักการเกี่ยวกับศูนย์กำไร
2557. POSDCORB. http://52540391korbkann.blogspot.com/2013/11/posdcorb-lyndall-urwick-staffing.html 16 สิงหาคม 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น